Thursday, April 2, 2015

บันทึกครึ่งชั่วโมง "ปรัชญา สุนทรียะ สถาปัตยกรรม" โดย คุณชาตรี ต้นศิลป์ สตูดิโอ

ภาพจาก Facebook ภาควิชาสถาปัตฯ
หลังจากเรียนวิชาสะท้อนประเทศไทยไปกับ ดร.ธนกรแล้ว ก็ถูกชวนให้มางานนี้โดยสหายไกด์ (@Pakawat) ผลก็คือได้เปิดหูเปิดตาอย่างยิ่ง และได้พบว่างานนี้ที่สถาปนิก+นิสิไปนั่งฟังบรรยายกัน ตัวความรู้มันข้อเกี่ยวกับสิ่งที่เรียนในคณะอักษรมากกว่าที่คิดเสียอีก

การบรรยายครั้งนี้จัดโดย ภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่คณะสถาปัตย์นี่เอง มีขนม น้ำดื่มพร้อม ห้องบรรยายก็หะหรูหะหรามากโอ้ววว


งานครั้งนี้บรรยายโดย คุณชาตรี ลดาลลิตสกุล (เห็นเรียกกันว่าคุณโหน่ง) ผู้ก่อตั้ง ต้นศิลป์ สตูดิโอ ผลงานของสตูดิโอนี้ที่โดดเด่นคือ อาคารหลายๆหลังที่มหาวิทยาลัยมหิดล: อาคารภูมิพลสังคีต  เรือนศิลปิน อาคารโซนต้นศิลป์ อาคารศิริราชปิยมหาราชการุณ และล่าสุด คือ บ้านต้นศิลป์ หรือบ้านของคุณโหน่งเอง ที่ได้รับรางวัลดีเด่นจากสถาปนิกสยามด้วย

คุณโหน่งเกริ่นก่อนว่า งานนี้ที่พูดต่อจาก งานอาสา Talkative ปรัชญา สุนทรียะ ความลับ วิถีทาง ต้นศิลป์สตูดิโอ(ภาพประกอบ) ที่พูดไม่จบ
พร้อมทั้งมีความกังวลใจ เพราะคนฟังเป็นทั้งนิสิต และสถาปนิก กลัวเนื้อหาจะหนักไปสำหรับนิสิต

เริ่มบรรยาย

ผมก็เป็นเพียงคนคนหนึ่งเท่านั้น ที่ทำงาน ไม่ได้มีวิชาการองค์ความรู้อะไร
วันนี้จะมาบรรยายถึงอะไรบ้าง ที่มีอิทธิพลต่องานของผม ให้เป็น case study

SPIRITUAL
เหรียญมีสองด้าน และ อีกด้านของเหรียญที่ขาดไปในสถาปัตยกรรมปัจจุบันของเราไปมาก คือ เรื่อง "จิต" โดยเฉพาะเราชาวตะวันออก ที่งานปัจจุบันล้วนมีแต่แบบ กระแสความคิด(idea)
ลองให้เรามองงานของญี่ปุ่นดู เราเหมือนจะรู้สึกว่ามันมี "จิต" อยู่ในนั้น แล้วเราจะยืนอยู่อย่างไรในโลกของการออกแบบ?


GLOBAL vs LOCAL
เมื่อ 10 ปีก่อนเนี่ย เราใช้เรื่องนี้อบรมฯกัน ให้ตระหนักถึงเรื่องนี้
โลกไร้พรมแดนในวันนี้และวันพรุ่งนี้ ทำให้เราต้องปรับโลกทัศน์ให้ทันกับโลก
ในขณะที่เราก็ยังเป็นเรา แต่ว่าน่าเสียดายที่การศึกษาของเรา เราเป็นผู้ตามและถูกชี้นำจากชาติผู้นำเสมอ

คุณโหน่งยังเพิ่มเติมประเด็นความต่างของ ตะวันตก และ ตะวันออกด้วยว่า ตะวันตกมักจะเน้นก้าวไปข้างหน้าทางวัตถุ พัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง ในทางกลับกันตะวันออกก็จะมุ่งไปหาทางหลุดพ้น
อีกมุมมองคือ ตะวันตกจะมองแต่ละอย่างด้วยการแยกเป็นส่วนๆออกจากัน แต่ตะวันออกจะมองทุกอย่างเป็นองค์รวม คือ ทุกอย่างล้วนเกี่ยวข้องซึ่งกันและกัน

คิดแบบองค์รวม หนึ่งคำตอบ ตอบร้อยคำถาม

มีหลายๆตัวอย่างภูมิปัญญาตะวันออกที่ไปโลดแล่นบนเวทีโลก และเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง
เช่น ปรัชญา ZEN Less is more ที่สตีฟจอบส์ใช้ทำ iPhone

คนไทยชอบคำตอบแบบองค์รวม
อย่างไปหาหมอฝรั่ง ก็จะให้ยาตามโรค เจ็บคอเอายาแก้เจ็บคอไป ปวดหัวเอายาแก้ปวดหัว
ไปหาหมอจีนจะบอกว่า ร่างกายท่านเสียสมดุล ต้องปรับร่างกายให้สมดุล
ไม่ได้บอกว่าใครฉลาดกว่าใคร แค่จะบอกว่าเราดูถูกควาฉลาดของเรา
ด้านของจิตใจเราชนะขาด แต่เราไม่เคยเอาจิตใจนั้นมาใช้ งานสถาปัตยฯของเราก็เลยเป็นแค่กระแสความคิด


ชาติตะวันตกจะมองการเดินข้ามผาด้วยเชือกเส้นเดียวก็คือ เดินข้าม
แต่ตะวันออกจะมองว่านั่นคือการทดสอบจิตใจ

ชาติตะวันตกก็วาดนกให้ดูเหมือนจริง แต่ชาติตะวันออกจะวาดนกให้เป็นนก

คนตะวันตกเขียนนกแล้วเหมือนนก แต่คนตะวันออกเขียนนกแล้วเป็นนก 

มาดูสถาปัตยกรรมไทย
Zaha Hadid นักศึกษาสถาปัตฯก็ก๊อปกันใหญ่
งานตะวันตกก็จะออกมาแนว complicated ต้องยากๆ
งานยากๆส่วนนึงก็รับแรงบันดาลใจมาจากสนามโอลิมปิกรังนก ว่าโอ้ มันสร้างได้ยังไงกัน
ข้อดีของชาวตะวันตกคือเดินหน้าไม่รอใคร

"อดีตที่งดงามและไม่กลับมาอีกแล้ว"
แล้วเราเสียมันไปตอนไหน?


เรากำลังวิวัตน์ไปสู่ความเป็นเขา
คุณโหน่งกล่าวถึงคำหนึ่งที่น่าสนใจมากคือ "ความเป็นอื่นในตัวเรา" ใช้เรียกความรู้สึกที่ว่า เมื่อไหร่เราจะก้าวออกจากความเป็นไทย(ที่มันแย่ๆ)เสียที

เราก็อยากจะเป็นเหมือนเขา อยากจะดีเหมือนเขา
(หรืออยากจะรวย จะโง่แบบเขากันนะ)


ถอยไปข้างหน้า
เราอาจจะต้องไปข้างหน้าด้วยการถอย อันนี้ผมเอามาจาก Starbuck
สำหรับผม ความงดงามคือคำตอบ

งดงามอย่าง สุนทรียะ เสียดายว่าคนไทยยังให้ความสำคัญกับเรื่องนี้น้อย งดงามอย่างสุนทรียะคุณโหน่งยกตัวอย่าง Wabi Sabi จากประเทศญี่ปุ่น ว่าคล้ายกับหลัก หลักไตรลักษณ์ ของพุทธเนี่ยแหละ   แต่ต่างว่าไทยเราเรามองไตรลักษณ์ในลักษณะที่เป็นข้อเท็จจริง เป็นความเป็นจริงของชีวิต แต่ญี่ปุ่นนี่เอาหลักนี้ครอบตัวศิลปะไปเลย

งานศิลป์ญี่ปุ่น
ธรรมดา ที่ไม่ธรรมดา
ข้ามเส้นความไม่ธรรมดา ด้วยความธรรมดา
ผมเคยคิดว่าโลกธรรมมะก็อยู่ส่วนธรรมะ แยกออกจากโลกของศิลปะ แต่ตอนนี้ผมเลิกแล้ว
ตั้งแต่หลังจากศึกษาศิลปะญี่ปุ่นเนี่ย

คุณโหน่งกล่าวถึงข้อจำกัดทางภาษาไทย ที่ใช้อธิบายสิ่งต่างๆได้จำกัด ไม่เอื้อต่อการอธิบาย

ความลับจริงๆอยู่ในภาษา อย่างคำว่า Ma ในภาษาญี่ปุ่น
แปลว่า ประตู ก็ได้ แสงอาทิตย์ก็ได้
ส่วนไทย ประตู ก็คือ ประตู บรรยายตามนิยามและการใช้สอย

อีกคำคือ En พื้นที่สีเทา เป็นพื้นที่ที่เปิดรับให้ธรรมชาติเข้ามามีอิทธิพลต่อตัวเราข้างใน และในขณะเดียวกันก็ป้องกันแสงแดดและสายลมไม่ได้มามีอิทธิพลของเรา

ญี่ปุ่นนี่มีตั้งหลาย space มิติของนิยามต่างๆ แค่นิยามเราก็สู้บ่ได้แล้ว

หรือคำจากอังกฤษว่า Place ถ้าแปลเป็นไทยว่า พื้นที่ sense ของคำว่า place จะหายไปเลย
ต่อไปคุณโหน่งพูดถึง Place แห่งความสงบว่าออกแบบไม่ได้
เพราะความสงบเป็นข้อเท็จจริง
สิ่งที่ควรออกแบบคือความงามของความสงบ
เราจะออกแบบความสงบอันส่องสว่าง
เราจะออกแบบความสงบอันมืดมิด
ถ้าคิดอย่างนี้เราเล่นได้เป็นล้านอย่าง

เงาที่ทอดลง เสียงใบไม้ไหวและลมพัด เสียงนกร้อง เป็นส่วนหนึ่งของความสงบหรือไม่

ความงามของความสงบนี้แหละ ที่น่าทำ
ถ้ามองออกเราก็จะค้นพบไม้เด็ดแห่งโลกตะวันออกที่จะเอาไปฟาดฟันกับโลกตะวันตก

เราจะเห็นว่าคนญี่ปุ่นยังมีบ้านทรงญี่ปุ่น ใส่ชุดกิโมโนไปงานต่างๆอยู่ อาจจะเป็นเพราะเขากำหนดทิศทางกว้างๆมาให้ปรับเปลี่ยนขยับขยายได้
ส่วนบ้านไทย ไม่มีอะไรจะสืบสาน เพราะด้วยอธิบายตามนิยาม และการใช้งาน
อย่างบ้านยกพื้นใต้ถุนเลี้ยงเลี้ยงควาย และไวหนีน้ำท่วม แต่ปัจจุบันก็ไม่มีความจำเป็นต้องทำอย่างนั้นแล้ว มันก็เลยค่อยๆหายไป

ครูบาอาจารย์ของญี่ปุ่นจะบัญญัติกำหนดแนวทางของสุนทรียะมา ทำให้อยู่รอดได้ง่ายกว่าของไทยบัญญัติตามนิยาม


ก่อนผมออกก็มีเรื่องน่าสนใจอีกอย่างคือ JYO KYO และ IYU ที่ว่าถึงอันดับของคุณค่าว่าให้ความน่าสนใจนั้น อยู่อันดับสูงกว่าความถูกต้อง ผมฟังแล้วก็ยังงงๆ แต่ไม่น่าจะหมายความว่าให้ไปยิงคนตายเพื่อจะได้สร้างความสนใจ ตามหลักความน่าสนใจอยู่เหนือความถูกต้อง
ความหมายลึกๆผมยังไม่เข้าใจนัก ถ้าจะให้เดาก็คือความงาม/คุณค่าไม่จำเป็นต้องสมจริงเสมอไป ก็ได้มั้ง ผมเดาว่าอย่างนี้

ตอนนี้เริ่มจำอะไรไม่ได้แล้วเพราะเตรียมตัวเก็บของกลับบ้าน

เงยหน้ามาอีกทีเจอตารางเปรียบเทียบสถาปัตยกรรมแบบตะวันตก(ฝั่งซ้าย) และฝั่งตะวันออก(ฝั่งขวา) ข้อความที่ถูกใจผมมากคือ ความเย็นมลืดชืดของตะวันตก และ อบอุ่นของตะวันออกนี่แล


พอถึงเวลาก็ต้องกลับแล้ว สหายไกด์ที่บอกว่าจะกลับพร้อมกัน เจอความน่าสนใจเหนือความถูกต้องทีนี่เปลี่ยนใจไม่กลับเลย ทั้งๆที่ตอนแรกบอกว่าต้องกลับไปทำงานเหมือนกัน ฮ่าๆ แต่กระผมงานรัดตัวแล้ว ขอตัวก่อนนะครับ มีเสียดายนิดๆไม่ได้ฟังต่อจนจบ
งานดีๆอย่างนี้เอาไปเลย ๕​ ดาวครับ ฮี่ๆ เห็นดูจะเงียบๆแต่ก็มีคนมาลงทะเบียนฟังในรายชื่อกว่า 200 คน แถมตอนผมเดินออกมาก็มีคนนั่งฟังบนพื้นด้วยนะครับ!
สิ่งดีๆมีให้ฟังฟรี ก็คงไม่ได้ฟังเลยด้วยซ้ำถ้าสหายไกด์ไม่ได้ชวนไป ขอขอบคุณอีกที
ขอจบบันทึกเพียงเท่านี้

Wednesday, March 25, 2015

มาเดิน ศูนย์หนังสือจุฬา ศาลาพระเกี้ยว

กลับมาแล้วพร้อมโฉมใหม่ ศูนย์หนังสือจุฬาสาขาศาลาพระเกี้ยว ใครเห็นเป็นต้องอู้หู(ผมเองยังอึ้งเลย)
ปรับปรุงร้านใหม่หนนี้ะเรียกได้ว่าปรับปรุงภาพศูนย์หนังสือจากที่ดูอัดกันเยอะๆแน่นๆ ให้กลายเป็นดูทันสมัย โปร่ง โล่ง สว่าง สบาย ชวนให้เข้าไปเดินเล่นยิ่งนัก


หลังเปิดตัวได้วันนึงก็มาเยือนเสียหน่อย เดินมาสิ่งแรกที่สะดุดตาคือ Backdrop
ซึ่งก็มีคนมาถ่ายรูปคู่ Blackboard ด้วยจริงๆนะเออ ๕๕๕

มองจากภายนอกก็จะเห็นภายในร้านแทบจะทั้งหมดเลย ร้านดูเหมือนถูกออกแบบใหม่หมด น้องหนอนหนังสือก็ได้หน้าตาใหม่เช่นกัน ดูแล้วน่ารักกว่าตัวเก่าเยอะเลย เหมาะไปทำตุ๊กตาใช่ย่อย

ก่อนเข้าร้านมีของเล่นใหม่เฉพาะงสาขาศาลาพระเกี้ยว ซึ่งก็คือ ปุ่มกดเปิดประตู เย่ๆ ^_^

เข้ามาอย่างแรกที่จะเห็นคือ Guestboard ที่ให้คนมาเยือนคอยเขียนได้ว่าข้ามาเยือนแล้ว

หันไปทางซ้ายเจอน้องหนอนหนังสือ...น่ารักกกกก

มองไปรอบๆก็จะเห็นป้ายหนังสือแนะนำติดอยู่เสาทุกต้น เดินต่อไปสักพักก็เริ่มรู้สึกถึงอย่างหนึ่งที่ขสดหายไป

หมวดหมู่หนังสือหายไปไหนหมด! ก็ว่ารู้สึกแปลกๆตั้งแต่เดินเข้ามาแล้ว


สำรวจต่อไปจนกลางห้องสมุดก็พบกับ U-Store ที่ปรับปรุงใหม่จากเดิมเป็นมุมเล็กๆ กลายเป็นโซนใหญ่ขึ้นมาดูเก๋ไม่แพ้ร้าน iStudio ใหญ่ๆเลย

เดินไปสุดทางก็เจอสวนเล็กๆ เห็นแล้วชื่นใจ อนาคตจะมีกิจกรรมอะไรไหมนะ

เดินครบก็ได้เวลากลับแล้ว แต่ก็ต้องมาสะดุดกับป้ายโฆษณาอัจฉริยะ ของเล่นใหม่อีกแล้ว
ส่วนตัวคิดว่าก็ดีนะมีโฆษณาหมุนเวียนไปเรื่อยๆ เสียอย่างเดียวที่เปลี่ยนภาพเร็วไปหน่อยสำหรับโฆษณาจำพวกโปรโมชั่นที่ต้องใช้เวลาอ่านดอกจันนานๆ อย่างภาพข้างล่างเป็นต้น

ส่วนไฮไลท์สุดท้ายคือ เพิงรู้ว่าศูนย์หนังสือจุฬารับชำระเงินด้วยบัตรเครดิต และ เดบิทด้วย
รับทุกสาขาดด้อีกต่างหาก แต่ต้องซื้อของอย่างน้อย 100 บาทนะ
หมดปัญหาเงินทอน และแบงค์ใหญ่เกินไปซะที
อนาคตอาจจะมี console ให้เอาไอโฟนมาแปะจ่ายเงินก็เป็นได้ ๕๕๕

สรุป สาขาใหม่ไฉไล ดูโปร่งโล่งทันสมัยมาก ภาพเก่าๆทึมๆไม่มีแล้ว ขนาดตอนนี้ยังดูทำไม่เสร็จจะเนี่ย
ของก็เยอะไม่แพ้สาขาสยามหรือจามจุรีเลย
จบการแนะนำศูนย์หนังสือจุฬาใหม่แต่เพียงเท่านี้ครับ
(นอกจากนี้แอร์ใหม่ยังเย็นสะใจอีกด้วย เดินออกมาฝ้าขึ้นแว่นเลย)


(ข้างๆก็มีสหกรณ์เปิดใหม่เหมือนกันนะ ตามไปอ่านได้เล้ย)

ลุคใหม่สหกรณ์จุฬาศาลาพระเกี้ยว เป็นไงมาดูกัน

มาใหม่อีกรอบหลังจากผ่านไปวันเปิดตัวแล้วเจอแต่ขนม รู้สึกยังไม่น่าเขียนถึงเท่าไหร่ วันนี้มาเดินดูแก้มืออีกรอบ (จริงๆเป็นทาสโปรโมชั่นอยากได้คูปองลดราคา)
ก่อนเข้าร้านบรรยากาศก่อนเข้าร้านดูมีของเยอะขึ้นแล้ว พี่ๆขยันกันเซตร้านเต็มที่

อย่างแรกที่รู้สึกได้ตั้งแต่เข้าร้านมาคือ แอร์เย็นมาก เย็นพอๆกับศูนย์หนังสือจุฬาที่เพิ่งไปมาเมื่อกี้
ใต้แอร์แรกมีร้านขายชุดนิสิตเช่นเดิม หนนี้ย้ายหุ่นเข้ามาตั้งสวยๆเท่ๆในห้องกระจกแล้ว ไม่ต้องไปตากฝุ่นร้อนๆข้างนอกแล้วนะคุณหุ่น

ข้างๆก็มีซุ้มขายรองเท้า ใต้แอร์เช่นกัน ถ้าหาอะไรไม่เจอให้ถามพี่ๆสหกรณ์เสื้อเขียวได้ เนื่องจากตอนนี้เซตร้านกันอยู่ เลยไม่อยู่ประจำที่มาก

ของที่มีให้เลือกเยอะสุดตอนนี้คือ ขนม มีครบครันที่สุด ส่วนของอื่น บางชิ้นอยู่บนชั้นยังไม่มีป้ายราคาบ้าง บางอย่างยังอยู่ในกล่องอยู่ บางชั้นก็ยังว่างๆ

ของใช้เครื่องเขียนมาแล้วสัปดาห์ที่แล้วไม่เจอ สัปดาห์นี้เจอแล้ว ของมีน้อยกว่าสาขาอื่นนิดหน่อย

ถึงของอาจจะยังมีไม่หลากหลาย แต่ที่มีคือมีเพียบ

เหลียวไปเจอเค้าเต้อสมาชิกสัมพันธ์ เย่ วันรับปันผลไม่ต้องเหาะไปจาม ๙ แล้ว

เดินมาจนสุดร้าน ก็พบว่าทำไมของถึงน้อย อ้อ มาอยู่กันหลังร้านหมดนี่เอง มีทั้งเครื่องดื่ม น้ำเปล่า ของที่ยังไม่อยู่บนชั้น ตอนนี้ยังหยิบซื้อไม่ได้ ได้รออีกเดี๋ยวก็คงได้ซื้อกัน

วิธีเอาคูปอง
สำรวจร้านเสร็จก็ได้เวลาเสียเงินเอง จัดซื้อของไปซะ ๓๐๐ แล้วก็เอาใบเสร็จไปยื่นที่โต๊ะสมาชิกสัมพันธ์เพื่อรับคูปอง

ยื่นใบเสร็จแล้ว ก็รับกระดาษมาเซ็นรับคูปอง  แล้วรับคูปองไปเลย ไม่ยุ่งยาก
เราได้เป็นหมายเลขที่ ๗๒​ (ก็คือคนที่ ๗๒​ รึเปล่าหว่า) คูปองก็เป็นปึกเล็กๆ เล็กกว่าบัตรนิสิตเกือบครึ่ง
ว่าแต่คูปองคุ้มแค่ไหน

คูปองใช้เป็นส่วนลด 10 บาท ทุกๆ 50 บาท มี 10 ใบ คือถ้าจะใช้คูปองทั้งหมดก็ต้องซื้อของ 500 บาท
แล้วก็เสียอีก 300 เพื่อให้ได้คูปองมาใช้
คิดแล้ว คือ จ่ายเงิน 800 บาท แล้วได้ส่วนสด 100 บาท
อืม ก็ค่อยดูเป็นเหตุเป็นผลหน่อย =w= ตอนแรกก็ว่าซื้อของ 300 ลด 100 เหลือ 200 บาท ลดไปตั้งหนึ่งในสามมันฟังดูเยอะไปสหกรณ์เจ๊งพอดี

สรุปคือ สหกร์เปิดใหม่ สวย โล่ง น่าเดิน แอร์เย็น(มาก) แต่ยังเปิดไม่เต็มสูบ 100% ส่วนตัวคิดว่าดีขึ้นเยอะเลย แต่เมื่อไหร่ร้านเครปจะกลับมาง่า วันที่จะไปลองชิมก็ปิดพอดี T^T

"เย้ ต่อไปแถวเซเว่นก็จะยาวน้อยลงแล้ว"
ประโยคนี้ผ่านเข้าหูผมขณะกำลังนั่งพิมพ์บลอกนี้อยู่ตรงเก้าอี้ตรงข้ามสหกรณ์
แต่สิ่งที่ผมสงสัยคือกลิ่นบุหรี่ที่เข้าจมูกผมนี่มันมาจากไหน ทั้งๆที่นั่งมาตั้งนานแล้วไม่เห็นคนสูบซักคน

(โฆษณาบลอก ไปเดินศูนย์หนังสือจุฬาข้างๆเหมือนกันนะ ตามไปอ่านได้)